โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ฮับ (Hub)=
ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมโยงสัญญาณของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเข้าด้วยกัน ปกติจะเป็นเครือข่ายแบบ Ethernet 10BaseT รูปแบบการเชื่อมต่อ หรือ LAN Topology จะเป็นแบบ Star การเชื่อมต่อแบบนี้จะใช้ฮับเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ ทุกเครื่องจะเชื่อมต่อผ่ายฮับและใช้สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือ CAT5 กับหัวต่อแบบ RJ-45 ในการรับ-ส่งข้อมูล ฮับ จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) และฮับบางรุ่นยังสามารถตรวจจับข้อมูล (Data Detection) ต่างๆ เช่น Receive Sent Data, Jabbers, Collision Data, Short Frames
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่การทำงานคล้ายๆ กับตัวทวนสัญญาณ (Repeater) โดยจะขยายสัญญาณให้มีระดับความแรงเพื่อส่งต่อไป แต่มีหน้าที่หลักคือเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมต่อเครื่อข่ายต่างระบบกัน เช่น ในหน่วยงานมีระบบเครือข่ายแรกเป็นแบบ Ethernet และมีระบบเครือข่ายที่สองเป็นแบบ Token-Ring ดังรูปที่ 2.17 จะเห็นว่าใช้บริดจ์เป็นสะพานในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายทั้งสอง (บริดจ์ จะมีพอร์ตในการเชื่อมต่อจำนวน 2-4 พอร์ต คือ พอร์ต A , B, C, D)
สวิตช์ (Swith) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่รวมความสามารถของฮับและบริดจ์เข้าไว้ภายใน ตามปกติแล้วเครือข่ายของ Ethernet ไม่สามารถส่งข้อมูลพร้อมกันหลายเครื่องได้ จะต้องสลับกันส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมต่ออยู่บนโดเมนปะทะ (Collision Domain) กล่าวคือ ถ้าเกิดมีการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องบนระบบฯก็จะมีการกกระจายข่าวสารออกไปให้ทั้งเครือข่ายทราบ และเครื่องอื่นไม่สามารถจะรับ-ส่งข้อมูลได้ จนกว่าเครื่องทั้ง 2 จะรับ-ส่งข้อมูลกันเสร็จเรียบร้อย แต่สวิตซ์ทำให้สามารถจะส่งข้อมูลออกไปพร้อม ๆ กันได้หลายเครื่องด้วยความเร็วสูงกว่า
เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลาย ๆ แบบเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการทำงานสูงกว่าสวิตซ์ ขั้นตอนในการเซตอัพก็ยากกว่า เราท์เตอร์สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้สายเคเบิ้ลต่างกัน แต่มีโปรโตคอลเหมือนกันได้ เช่น เครือข่ายหนึ่งใช้สาย Coaxial แต่อีกเครือข่ายใช้สาย UTP เราท์เตอร์มีหน้าที่ในการเชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น ระหว่างจังหวัด, ภูมิภาค, ประเทศ หรือทวีป โดยผ่ายเซอร์วิสของ WAN, ATM, ISDN, X25
ไฟร์วอลล์ (Firewall) ความหมายทางด้านการก่อสร้างแล้วหมายถึง กำแพงที่เอาไว้ป้องกันไฟไม่ให้ลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ส่วนทางด้านคอมพิวเตอร์นั้นก็จะมีความหมายคล้าย ๆ กันก็คือ เป็นระบบที่เอาไว้ป้องกันอันตรายจากอินเทอร์เน็ตหรือเน็ตเวิร์กภายนอกนั่นเอง
ไฟร์วอลล์ เป็นคอมโพเน็นต์หรือกลุ่มของคอมโพเน็นต์ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเน็ตเวิร์กภายนอกหรือเน็ตเวิร์กที่เราคิดว่าไม่ปลอดภัย กับเน็ตเวิร์กภายในหรือเน็ตเวิร์กที่เราต้องการจะป้องกัน โดยที่คอมโพเน็นต์นั้นอาจจะเป็นเราเตอร์ คอมพิวเตอร์ หรือเน็ตเวิร์ก ประกอบกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการหรือ Firewall Architecture ที่ใช้
สายสัญญาณ (Cable)
ในการเชื่อมต่อแบบต่าง ๆ จะต้องใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวกลาง (Media) ซึ่งการใช้งานจะขึ้นอยู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อ เช่นแบบ Bus จะใช้สายเคเบิ้ล Coaxial, แบบ Star จะใช้สายเคเบิ้ล UTP สายเคเบิ้ลที่ใช้งานในระบบเน็ตเวิร์กจะมีอยู่ 3 ประเภทคือ
สาย Coaxial เป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดงเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนสายยาง โดยจะมีลวดถักหุ้มฉนวนสายยางอีกชั้น (shield) ป้องกันสัญญาณรบกวน และมีฉนวนด้ายนอกเป็นยาง สีดำหุ้มอีกชั้น จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ อย่างหนา (thick) อย่างบาง (thin) ส่วนมากจะใช้งานบนระบบ Ethernet โดยที่ปลายสายทั้ง 2 ด้ายจะต้องมีตัว terminator ปิดด้วย มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำกว่าสายแบบ UTP สาย Coaxial อย่างบาง (thin) มีข้อเสียคือ ไม่สามารถใช้รับ-ส่งสัญญาณได้เกิน 185 เมตร อาจต้องใช้ตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ช่วยขยายสัญญาณ
สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT (Category) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้นตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ ไม่มีเส้นลวดถัก (shield) เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45 เข้ากับสาย UTP แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps ปัจจุบันนิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุนการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbps
สื่อกลางในการส่งข้อมูล
ประเภทของสื่อกลางในการส่งข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.สื่อกลางที่ระบุเส้นทางได้ หรือระบบใช้สาย (Wired System๗
สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย